รายชื่อมหาวิทยาลัยและโรงเรียนในกำกับ ของ โครงการสนับสนุนการจัดตั้งห้องเรียนวิทยาศาสตร์ในโรงเรียน โดยการกำกับดูแลของมหาวิทยาลัย

มหาวิทยาลัยโรงเรียนในกำกับปีที่เข้าร่วมรายละเอียดหลักสูตร[4]
1มหาวิทยาลัยเชียงใหม่โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยเชียงใหม่2551[2]หลักสูตรมีความโดดเด่นด้านวิทยาศาสตร์ธรรมชาติโดยนักเรียนจะได้เรียนรู้ผ่านการเรียนการสอนแบบ Problem based ที่นำองค์ความรู้แต่ละกลุ่มสาระบูรณาการเป็นหน่วยการเรียนรู้อย่างกลมกลืน โดยนักเรียนได้รับทักษะและกระบวนการคิดเชิงวิทยาศาสตร์ผ่านการปฏิบัติจริง
2มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารีโรงเรียนราชสีมาวิทยาลัย2551[2]หลักสูตรมีความโดดเด่นด้านวิทยาศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ และการวิจัย มุ่งเน้นการจัดการเรียนการสอนตามความสนใจ ความถนัด และศักยภาพของนักเรียนเพิ่มเติมด้วยวิชาปฏิบัติการฟิสิกส์ เคมี และชีวเคมี และกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนที่หลากหลายทั่งภายใน และภายนอกสถานศึกษา
3มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรีโรงเรียนดรุณสิกขาลัย2551[2]หลักสูตรห้องเรียนวิศว์-วิทย์ เน้นการเรียนรู้ผ่านเรื่องราวที่ร้อยเรียงตามประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติโดยเชื่อมโยงคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ สังคมศาสตร์ ตลอดจนศิลปวัฒนธรรมเข้ากันไว้ด้วยกันแบบ Story-Based Learning นักเรียนจะเพลิดเพลินกับการเรียนรู้ผ่านการลงมือปฏิบัติการแก้ปัญหาจริง และโครงงานหลังสูตรนี้เหมาะกับผู้ที่ต้องการเติบโตไปเป็นวิศวกรวิจัย (Research Engineer) และวิศวกรปฏิบัติ-นวัตกร (Hands-on Engineer)
4มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่โรงเรียน มอ.วิทยานุสรณ์2551[2]หลักสูตรมีความโดดเด่นด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีขั้นสูงโดยประยุกต์ใช้กับวิทยาการด้านนวัฒนกรรมการเกษตร เทคโนโลยีชีวภาพ สัตวแพทย์ และวิศวกรรมศาสตร์ นอกจากนี้ยังมุ่งเน้นพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษ
5มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานีโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์2553[2]หลักสูตรมีความโดดเด่นด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์การแพทย์ พลังงานและสิ่งแวดล้อมเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร และภาษาอังกฤษ มุ่งเน้นให้นักเยนมีความคิดสร้างสรรค์ ความคิดวิเคราะห์สังเคราะห์ กล้าแสดงออกและเป็นผู้นำที่มีสุขภาพกายและสุขภาพจิตที่สมบูรณ์
6มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสนโรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน2554[2]หลักสูตรมีความโดดเด่นด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีขั้นสูงโดยประยุกต์ใช้กับวิทยาการด้านนวัฒนกรรมการเกษตร เทคโนโลยีชีวภาพ สัตวแพทย์ และวิศวกรรมศาสตร์ นอกจากนี้ยังมุ่งเน้นพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษ
7มหาวิทยาลัยขอนแก่นโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยขอนแก่น ฝ่ายมัธยมศึกษา (ศึกษาศาสตร์)2554[2]หลักสูตรมีความโดดเด่นด้านวิทยาศาสตร์ นาโนเทคโนโลยี และการวิจัยผ่านการลงมือปฏิบัติทั้งในและนอกห้องเรียน โดยมุ่งเน้นให้นักเรียนเกิดทักษะ และกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ในการเรียนรู้ เพื่อพัฒนานวัตกรรมที่สามารถนำมาพัฒนาท้องถิ่นได้จริง
8มหาวิทยาลัยบูรพาโรงเรียนสาธิต "พิบูลบำเพ็ญ" มหาวิทยาลัยบูรพา2556[5]หลักสูตรการเรียนการสอนมุ่งเน้นให้นักเรียนมีความโดดเด่นในด้านทักษะการคิดวิเคราะห์ การคิดสังเคราะห์ การคิดแก้ปัญหาผ่านกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ที่มีความหลากหลายทางชีวภาพ ระบบนิเวศ สิ่งแวดล้อม และวิทยาศาสตร์ทางทะเล โดยมีเทคโนโลยีเป็นเครื่องมือสำคัญในการเรียนรู้
9มหาวิทยาลัยนเรศวรโรงเรียนมัธยมสาธิตมหาวิทยาลัยนเรศวร2556[5]หลักสูตรมีความโดดเด่นด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ-กายภาพ-ชีวภาพ เน้นการสร้างทักษะการวิจัยจากการทำโครงงานวิทยาศาสตร์และต่อยอดการทำวิจัยร่วมกับนักวิจัย/คณาจารย์ของมหาวิทยาลัย มีกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนที่มุ่งเน้นพัฒนานักเรียนให้เป็นนักวิจัย/นักนวัตกรรมในอนาคตและมีความสามารถในด้านภาษาต่างประเทศ นักเรียนสามารถเรียนรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ของมหาวิทยาลัยนเรศวรล่วงหน้าได้
10มหาวิทยาลัยทักษิณโรงเรียนป่าพะยอมพิทยาคม2556[5]หลักสูตรมีความโดดเด่นด้านวิทยาศาสตร์ธรรมชาติ คณิตศาสตร์ ความหลากหลายทางชีวภาพ สิ่งแวดล้อม พลังงานทดแทนและเกษตรยั่งยืน บนฐานภูมิปัญญาท้องถิ่น ผ่านการเรียนรู้ด้วยรูปแบบต่างๆ โดยคณาจารย์มหาวิทยาลัยและปราชญ์ชาวบ้านเพื่อให้นักเรียนได้มีการบูรณาการความรู้ผ่านการทำโครงงานวิจัยขนาดเล็กร่วมกับคณาจารย์และนักวิจัยของมหาวิทยาลัย โดยเน้นบริบทในท้องถิ่นภาคใต้
11มหาวิทยาลัยมหาสารคามโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยมหาสารคาม (ฝ่ายมัธยม)2556[5]หลักสูตรมีความโดดเด่นด้านวิทยาศาสตร์ธรรมชาติ ความหลากหลายทางชีวภาพและภูมิปัญญาท้องถิ่นโดยผสานความโดดเด่นทางวิชาการตามความสนใจของนักเรียน และการแก้ปัญหา คิดวิเคราะห์แบบบูรณาการโดยใช้ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
12มหาวิทยาลัยพะเยาโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยพะเยา2558[5]หลักสูตรมีความโดดเด่นด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์การแพทย์ พลังงานและสิ่งแวดล้อมเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร และภาษาอังกฤษ มุ่งเน้นให้นักเรียนมีความคิดสร้างสรรค์ ความคิดวิเคราะห์สังเคราะห์ กล้าแสดงออกและเป็นผู้นำที่มีสุขภาพกายและสุขภาพจิตที่สมบูรณ์
13มหาวิทยาลัยขอนแก่นโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยขอนแก่น ฝ่ายมัธยมศึกษา (มอดินแดง)2558[5]หลักสูตรมีความโดดเด่นด้านวิทยาศาสตร์ธรรมชาติ วิทยาศาสตร์ประยุกต์ เทคโนโลยีชีวภาพ และเทคโนโลยีเกษตร โดยจัดการเรียนการสอนที่มุ่งเน้นทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ และเน้นการะบวนการคิดตามแนวทางการศึกษาชั้นเรียน (Lesson Study) และวิธีการแบบเปิด (Open Approach) พร้อมทั้งนำมาประยุกต์กับภูมิปัญญาท้องถิ่น เพื่อให้ผู้เรียนได้ใช้องค์ความรู้ที่นำไปสู่การพัฒนาหรือเป็นแนวทางแก้ไขปัญหาของท้องถิ่น นำไปสู่การสร้างนักยุววิจัยเพื่อเป็นรากฐานของนักวิจัยในอนาคต
14มหาวิทยาลัยอุบลราชธานีโรงเรียนลือคำหาญวารินชำราบ2558[5]หลักสูตรมีความโดดเด่นด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม มีการบูรณาการความรู้ในสาขาต่างๆ ได้แก่ นาโนเทคโนโลยี วัสดุนาโนเพื่อพลังงานและประหยัดพลังงาน เคมีอินทรีย์ขั้นสูงเพื่อพลังงาน การพัฒนาพลังงานเอทานอลและพืชพลังงาน การคำนวณและการจำลองแบบวัสดุพลังงาน และด้านเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม โดยมุ่งเน้นพัฒนาทักษะของนักเรียนเพื่อไปเป็นนักวิทยาศาสตร์และนักวิจัยในอนาคตต่อไป
15มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย รังสิต2558[5]หลักสูตรมีความโดดเด่นในการเรียนรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่เป็นสากลโดยการปฏิบัติจริงและใช้หลัก Project Based Learning กระตุ้นให้เกิดกระบวนการเรียนรู้ สามารถศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง มีเจตคติที่ดีต่อวิทยาศาสตร์และนำไปสร้างประโยชน์ต่อมนุษย์และสิ่งแวดล้อมได้อย่างยั่งยืน เน้นบูรณาการความรู้ระหว่างสาระการเรียนรู้ที่หลากหลาย เพื่อสร้างสรรค์นวัตกรรมและเทคโนโลยีผ่านการทำโครงงานวิทยาศาสตร์อย่างต่อเนื่อง
16มหาวิทยาลัยศิลปากรโรงเรียนสิรินธรราชวิทยาลัย2558[5]มุ่งจัดการศึกษาแบบสร้างสรรค์ภายใต้กรอบแนวความคิด ‘บูรณาการ วิทยาศาสตร์และศิลป์ ศึกษาสสารและวัสดุ พัฒนาพลังงานทดแทน ประสานสู่สิ่งแวดล้อม’ สำหรับนักเรียนผู้มีความสามารถพิเศษทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ให้มีทักษะกระบวนการคิดแบบวิทยาศาสตร์สำหรับการเป็นนักวิจัยทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่มีคุณภาพ พร้อมทั้งมีคุณธรรม จริยธรรม และมีจิตสำนึกในความเป็นไทย
17มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตสุราษฎร์ธานีโรงเรียน มอ.วิทยานุสรณ์ สุราษฎร์ธานี2559[5]หลักสูตรมีความโดดเด่นด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ในสาขาวิชาการที่สอดคล้องกับบริบทของพื้นที่ เช่น เทคโนโลยียาง เทคโนโลยีสารสนเทศ เทคโนโลยีชีวภาพ และเทคโนโลยีการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ หรือ RIBA
18มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารีโรงเรียนสุรวิวัฒน์2561หลักสูตรที่เน้นให้นักเรียนมีทักษะ ประสบการณ์ และการคิดวิเคราะห์ในด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ความโดดเด่นในด้านการเรียนการสอน มุ่งเน้นการจัดการเรียนการสอนตามแบบสะเต็มศึกษา ฝึกฝนการคิดวิเคราะห์อย่างนักวิทยาศาสตร์ สร้างเสริมความชำนาญด้านปฏิบัติการ การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในการสร้างนวัตกรรมเพื่อสังคม เน้นพัฒนาทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษ
19มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานีโรงเรียนสาธิตอิสลามศึกษา2562

แหล่งที่มา

WikiPedia: โครงการสนับสนุนการจัดตั้งห้องเรียนวิทยาศาสตร์ในโรงเรียน โดยการกำกับดูแลของมหาวิทยาลัย http://apply.mwit.ac.th/vmv http://www2.surat.psu.ac.th/scius/scius.html http://scius.most.go.th http://scius.most.go.th/project/match/view_data?pa... http://scius.most.go.th/set/content/view_data/2 http://scius.most.go.th/upload/downloads/44/61.pdf http://www.cabinet.soc.go.th/soc/Program2-3.jsp?to...